โคตรอลังการ! เผยโฉม "15 สนาม" ซาอุดีอาระเบีย เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2034

โคตรอลังการ! เผยโฉม "15 สนาม" ซาอุดีอาระเบีย เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2034

หลังจากที่ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ยืนยันว่า ซาอุดีอาระเบีย ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2034 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเป็นชาติจากตะวันออกกลางชาติที่ 2 ต่อจาก กาตาร์ ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2022

ทำให้ตอนนี้ ซาอุดีอาระเบีย ดำเนินการสร้างสนามใหม่ 11 แห่งเพื่อรองรับการจัดงานในปี 2034 พร้อมกับปรับปรุงสนามกีฬาอีก 4 แห่ง รวมเป็น 15 สนาม ใน 5 เมืองสำคัญทั่วประเทศ ได้แก่ ริยาด (8 แห่ง), เจดดาห์ (4 แห่ง), อัล โคบาร์ (1 แห่ง), อับฮา (1 แห่ง) และ นีออม (1 แห่ง)

พื้นที่ตรงนี้เราไปดูกันว่ามีสนามอะไรบ้าง ข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ทางการ saudi2034.com ที่เจ้าภาพสร้างรอไว้ล่วงหน้าเป็น 10 ปีเลยทีเดียว

—————————-

King Salman International Stadium
1ได้รับการออกแบบโดย Populous ตั้งอยู่ในกรุงริยาด มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2029 ด้วยความจุ 92,000 ที่นั่ง การออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากภูเขาและภาพเรนเดอร์แสดงให้เห็นแผงภูมิทัศน์ที่ล้อมรอบโครงสร้าง หลังจากฟุตบอลโลก 2034 สนามกีฬาแห่งนี้จะกลายเป็นสนามกีฬาแห่งชาติอย่างเป็นทางการของซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากเป็นสนามกีฬาที่มีความจุที่นั่งสูงสุดของประเทศ จึงสามารถดึงดูดและรองรับงานสำคัญระดับชาติต่างๆ ได้มากมาย รวมถึงคอนเสิร์ตและงานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : นัดเปิดสนามและนัดชิงชนะเลิศ

—————————-

King Fahad Sports City Stadium
3สนามแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงริยาดจะปรับปรุงใหม่เพื่อเพิ่มความจุ 70,200 ที่นั่ง เดิมทีสนามกีฬาแห่งนี้มีความจุที่นั่ง 58,398 ที่นั่ง และมีลักษณะเด่นคือโครงหลังคาขนาดใหญ่คล้ายเต็นท์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2026

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย, รอบก่อนรองชนะเลิศ และ รอบรองชนะเลิศ

—————————-

Prince Mohammed bin Salman Stadium
6สนามแห่งนี้ตั้งชื่อตาม โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย อยู่ห่างจากริยาด 30 กิโลเมตร ได้รับการออกแบบโดย Populous และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2029 จะสามารถรองรับผู้ชมได้ 50,000 ที่นั่ง สนามกีฬาริมหน้าผาจะมีอัฒจันทร์สามด้าน และผนัง LED ขนาดใหญ่ที่ยืดปรับได้ ส่วนหลังคาเปิดปิดได้ นอกจากนี้อาคารดังกล่าวยังจะมีพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกรวมอยู่ด้วย

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และ รอบชิงอันดับ 3

—————————-

New Murabba Stadium
2สนามกีฬาตั้งอยู่ในกรุงริยาด การออกแบบได้แรงบันดาลใจจากพื้นผิวซ้อนทับหลายชั้นของต้นอะคาเซียพื้นเมือง ถูกล้อมรอบไปด้วยหินรูปร่างต่างๆ มากมายที่ถูกแบ่งด้วยหุบเขา มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2032 ด้วยความจุ 46,010 ที่นั่ง

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

ROSHN Stadium
8สนามกีฬาในกรุ่งริยาด ทางตะวันตกเฉียงใต้ มีความจุ 46,000 ที่นั่ง การออกแบบตัวสนามจะอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกับคริสตัลที่ลอยขึ้นไปในอากาศที่สามารถเรืองแสงได้ในท้องฟ้ายามค่ำคืน กำหนดการสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2032

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

Prince Faisal bin Fahad Sports City Stadium
5ตั้งอยู่ในกรุงริยาด ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2027 รองรับผู้ชมได้ 46,865 คน ได้รับแรงบันดาลใจจากหลักสถาปัตยกรรมซัลมานีที่เน้นความทันสมัยตามบริบททางวัฒนธรรม สนามกีฬานี้จะสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่ผลิตในท้องถิ่น และใช้ระบบประหยัดพลังงาน รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่บนหลังคาอีกด้วย

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

South Riyadh Stadium
7สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการ “โมเดิร์นนิสม์เชิงบริบททางวัฒนธรรม” ของสถาปัตยกรรมซัลมานี หลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2034 สนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาชีพและเป็นสถานที่จัดงานกีฬาและความบันเทิง โดยมีแผนพร้อมใช้งานภายในปี 2032 ด้วยความจุรวม 47,060 ที่นั่ง

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

King Saud University Stadium
4สนามกีฬาในกรุงริยาด ได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อให้พร้อมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2034 สนามกีฬาแห่งนี้มีความจุ 46,319 ที่นั่ง โดยตั้งอยู่ติดกับ U Walk ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาแบบผสมผสานของมหาวิทยาลัย King Saud ปัจจุบันสนามกีฬาแห่งนี้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลซาอุดี โปรลีก และงานกีฬาสำคัญอื่นๆ  

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

King Abdullah Sports City Stadium
10สนามแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองเจดดาห์ มีความจุ 58,432 ที่นั่ง สร้างขึ้นในปี 2014 และเป็นที่รู้จักในชื่อ “The Shining Jewel” (อัญมณีอันเจิดจรัส) จากสถาปัตยกรรมเรขาคณิตอันโดดเด่น ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอิสลามมาผสมผสานกันเพื่อสร้างรูปลักษณ์ของสนามกีฬา โดยใช้ฉากกั้นแบบมาชราบียา (Mashrabiya) แบบดั้งเดิมซึ่งให้ความเป็นส่วนตัวและร่มเงา พร้อมทั้งระบายอากาศได้ดี เนื่องจากสภาพอากาศร้อนเกือบทั้งปี การปรับปรุงที่วางแผนไว้จะปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อกำหนดของฟีฟ่า และมีกำหนดการแล้วเสร็จภายในปี 2032

เนื่องจากเป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของซาอุดีอาระเบีย รองจากสนามกีฬา คิง ฟาฮัด ในกรุงริยาด จึงใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2023 มาแล้ว

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และ รอบก่อนรองชนะเลิศ

—————————-

Qiddiya Coast Stadium
9สนามกีฬาแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่เมืองเจดดาห์ ใจกลางการพัฒนาชายฝั่ง Qiddiya บนชายฝั่งทะเลแดง การออกแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงเอฟเฟกต์ระลอกคลื่นของ Mexican wave “คลื่นเม็กซิกัน” ด้วยเฉดสีที่เข้มข้นและสนุกสนาน มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2032 มีความจุ 46,096 ที่นั่ง

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย และ รอบ 16 ทีมสุดท้าย

—————————-

Jeddah Central Development Stadium
12สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเจดดาห์ มีความจุ 45,794 ที่นั่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2027 สนามกีฬาจะถูกล้อมรอบไปด้วยอาคารต่างๆ ที่ทำให้ดูเหมือนเป็นแหล่งรวมของโครงสร้างประวัติศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของเขตอัลบาลัดอันเก่าแก่ของเมือง สนามมี 3 ชั้น โดยมีชานชาลาด้านนอกที่เชื่อมต่อกับ “หมู่บ้าน” โดยรอบอีก 4 แห่ง ชานชาลาสนามกีฬามีหลังคาโปร่งแสงคลุมทั้งหมด พร้อมหลังคาด้านในเปิดปิดได้ และหน้าจอ LED 360 องศา

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

King Abdullah Economic City Stadium
11สนามตั้งอยู่ห่างจากเมืองเจดดาห์ 80 กิโลเมตร และจะเป็นส่วนหนึ่งของเมืองใหม่ที่วางแผนไว้บนชายฝั่งทะเลแดง การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากการเติบโตของแนวปะการังในท้องถิ่น มีแผนจะสร้างเสร็จในปี 2032 จะรองรับผู้ชมได้ 45,700 คน

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม

—————————-

Aramco Stadium
13สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองอัล โคบาร์ บนชายฝั่งอ่าวอาหรับ กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง สนามกีฬาแห่งนี้ออกแบบลักษณะรูปทรงน้ำวนเลียนแบบใบเรือที่ทับซ้อนกันและดึงเอาลวดลายคลื่นธรรมชาติที่สวยงามมาผสมผสานกับทิวทัศน์ชายฝั่งได้อย่างลงตัว มีความจุ 46,096 ที่นั่ง กำหนดสร้างเสร็จในปี 2026 และจะถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย 2027

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย และ รอบ 16 ทีมสุดท้าย

—————————-

King Khalid University Stadium
14สนามกีฬาที่มีอยู่นี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอับฮา โดยเปิดใช้ครั้งแรกในปี 1987 ปัจจุบันมีความจุ 12,000 ที่นั่ง และจะทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยขยายเพิ่มเป็น 45,428 ที่นั่ง จะพร้อมใช้งานภายในปี 2032  

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย และ รอบ 16 ทีมสุดท้าย

—————————-

NEOM Stadium
15สนามกีฬาตั้งตามชื่อของเมืองนีออม ได้รับการขนานนามว่าเป็น “สนามกีฬาที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในโลก” โดยจะถูกรวมเข้ากับเมืองยักษ์ The Line โปรเจกต์เมืองแห่งอนาคต ด้วยสนามที่ตั้งอยู่สูงกว่า 350 เมตรเหนือพื้นดินและหลังคาที่สร้างจากตัวเมืองเอง มีความจุ 46,010 ที่นั่ง หลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ที่นี่จะเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาชีพและเป็นศูนย์กลางของโปรแกรมกีฬาและไลฟ์สไตล์ของเมือง มีแผนจะสร้างเสร็จภายในปี 2032

มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และ รอบก่อนรองชนะเลิศ